ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ในวิชาคณิตศาสตร์ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส แสดงความสัมพันธ์ในเรขาคณิตแบบยุคลิด ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือ ในแง่ของพื้นที่ กล่าวไว้ดังนี้ ในสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ พื้นที่ของสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านเป็นด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลรวมพื้นที่ของสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านเป็นด้านประชิดมุมฉากของสามเหลี่ยมมุมฉากนั้น ทฤษฎีบทดังกล่าวสามารถเขียนเป็นสมการสัมพันธ์กับความยาวของด้าน a, b และ c ได้ ซึ่งมักเรียกว่า สมการพีทาโกรัส ดังด้านล่าง[1]a2+b2=c2 (อาจแทนด้วยตัวแปรอื่นเช่น x, y, z, ก, ข, ค) โดยที่ c เป็นความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก และ a และ b เป็นความยาวของอีกสองด้านที่เหลือ ทฤษฎีบทพีทาโกรัสตั้งตามชื่อนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก พีทาโกรัส ซึ่งถือว่าเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีบทและการพิสูจน์[2][3] แม้จะมีการแย้งบ่อยครั้งว่า ทฤษฎีบทดังกล่าวมีมาก่อนหน้าเขาแล้ว มีหลักฐานว่านักคณิตศาสตร์ชาวบาบิโลนเข้าใจสมการดังกล่าว แม้ว่าจะมีหลักฐานหลงเหลืออยู่น้อยมากว่าพวกเขาปรับให้มันพอดีกับกรอบคณิตศาสตร์[4][5] ทฤษฎีบทดังกล่าวเกี่ยวข้องกับทั้งพื้นที่และความยาว ทฤษฎีบทดังกล่าวสามารถสรุปได้หลายวิธี รวมทั้งปริภูมิมิติที่สูงขึ้น ไปจนถึงปริภูมิที่มิใช่แบบยูคลิด ไปจนถึงวัตถุที่ไม่ใช่สามเหลี่ยมมุมฉาก และอันที่จริงแล้ว ไปจนถึงวัตถุที่ไม่ใช่สามเหลี่ยมเลยก็มี แต่เป็นทรงตัน n มิติ ทฤษฎีบทพีทาโกรัสดึงดูดความสนใจจากนักคณิตศาสตร์เป็นสัญลักษณ์ของความยากจะเข้าใจในคณิตศาสตร์ ความขลังหรือพลังปัญญา มีการอ้างถึงในวัฒนธรรมสมัยนิยมมากมายทั้งในวรรณกรรม ละคร ละครเพลง เพลง สแตมป์และการ์ตูน

เลขยกกำลัง

เลขยกกำลัง คือ การเขียนตัวเลขที่มีการคูณซ้ำหลาย ๆครั้งในรูปแบบย่อให้มีความยาวที่สั้นลงทำให้สามารถอ่านได้เข้าใจได้ง่ายกว่าการเขียนจำนวนมากและทำให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ง่ายขึ้นในบางรูปแบบโดยการเขียน เลขยกกำลัง จะมีส่วนประกอบทั้งหมด 2 ส่วน คือ ส่วนประกอบของเลขยกกำลัง อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าเลขยกกำลังจะประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลักทั้งหมด 2 ส่วน คือ โดยเราจะเขียนเลขยกกำลังให้อยู่ในรูป an กล่าวคือ ในกรณีที่เราต้องเขียนผลคูณของจำนวนที่ซ้ำกันหลายๆครั้ง เช่น 2 x 2 x 2 เราสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของเลขยกกำลังได้เป็น 23 โดยฐานของเลขยกกำลังคือค่าของตัวเลขที่ซ้ำกัน และเลขชี้กำลังคือจำนวนที่ซ้ำกันของตัวเลขนั้น สมบัติของเลขยกกำลัง สมบัติของเลขยกกำลัง คือ กระบวนการในการจัดรูปของเลขยกกำลังให้อยู่ในรูปที่ต่างออกไป เพื่อที่จะทำให้สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นหรือสั้นลงกว่าเดิม โดยมีสมบัติของเลขยกกำลัง โดยสรุปจะมีทั้งหมด 7 ข้อ แต่ในบางหนังสือจะมีจำนวนมากกว่า 7 ข้อ เนื่องจากมีการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆเพิ่มเติมได้อีกแต่ในที่นี้จะขอสรุปเฉพาะข้อที่มีความสำคัญเพื่อให้ไม่เกิดความสับสน สมบัติข้อที่  1 จะช่วยให้เราสามารถประหยัดเวลาในการคำนวณได้มาก…